วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการเรียงและการทดสอบฟอนต์ Sans Serif

ตัวอย่างการเรียงและการทดสอบฟอนต์ Sans Serif



ตัวอย่างการเรียงฟอนต์แบบเอียง


ตัวอย่างการเรียงฟอนต์แบบธรรมดา


ตัวอย่่างการทดสอบฟอนต์ แบบเอียง


ตัวอย่่างการทดสอบฟอนต์ แบบธรรมดา


รายงานการออกแบบตัวอักษร สำหรับงาน Gift on the moon 2016 และรายงานสรุปยอดการขาย

Gift on the moon 2016  : Magic Art on The Moon



โดย

นางสาว โชติกา คล้อยวิถี รหัสนักศึกษา 5711312297

เสนอ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร

วิชา การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ ARTD 2304

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558


มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


(ส.1) สืบค้น

  ปัจจุบันที่เก็บหูฟังเป็นสิ่งของที่สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนที่มีประโยชน์ และมีความแปลกใหม่ในสังคมมากพอสมควร ที่เก็บหูฟังนั้นสามารถพบในแหล่งการค้าขายหรือร้านค้าออนไลน์ในกระแสอินเทอร์เน็ตมากพอสมควร ในรูปลักษณ์ที่ต่างแตกกันไป แต่มีความสวยงามและมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่นที่สามารถดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็น นอกจากจะสวยงามและสามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วยังสามารถที่จะทำเป็นรายได้เสริม หรือเป็นงานอดิเรกของผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้า



Test Font CRU Chotika Sans-Serif

สอบปฎิบัติตัวอักษรประดิษฐ์






Present Font Book

Font : CRU Chotika Sans-Serif  Regular & Italic

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการแปลงไฟล์ภาพตัวอักษรเป็นไฟล์เวกเตอร์(vector)

ขั้นตอนการแปลงไฟล์ภาพตัวอักษรเป็นไฟล์เวกเตอร์(vector)

ในการที่จะทำตัวอักษรลายมือ จากลายมือที่ได้เก็บตัวอย่างมามีขั้นตอนดังต่อไปนี้

*อัปเดตล่าช้าตั้งแต่14 ม.ค.-ปัจจุบัน*

ขั้นตอนที่1. นำลายมือตัวอย่างที่เก็บมาได้ เลือกมา1ลายมือ (ทั้ง2ภาษา)


ที่มา:chotika-27/01/2559-1

ขั้นตอนที่2. เลือกไฟล์ลายมือที่ต้องการขึ้นมา เเล้วกด Open จะได้ไฟล์รูปนั้นขึ้นมา



ที่มา:chotika-27/01/2559-2


ขั้นตอนที่3. กดคลิกที่รูปภาพแล้วกดเลือก image trace เพื่อให้ระบบทำการจำแนกสีรูปภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


ที่มา:chotika-27/01/2559-3

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

ฟอนต์ลายมือ (Hand Write)


ฟอนต์ลายมือ (Hand Write)

*อัปเดตล่าช้าตั้งเเต่วันที่14ม.ค.-ปัจจุบัน*

ลายมือตนเอง


ลายมือเด็ก


*เกิดการสื่อสารผิดพลาดเด็กที่ส่งให้ทำ ได้นำอีกแผ่นให้เพื่อนทำเเละนำปากกาเเดงมาเขียน*
ลายมือผู้ใหญ่




วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ความหมายของคำว่า Font,Typeface,Alphabet,Typography



Font หมายถึง ตัวอักษรที่ต่างกันทั้งแบบและขนาด มีไว้ให้เลือกมากมายเพื่อให้เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา การพาดหัวข่าว งานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ แบบอักษรแต่ละแบบจะมีชื่อ เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้ ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ abcd ABCD ABCD.

ที่มา : http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/font


Typeface หมายถึง  คือแบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” นั่นเองครับ ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ครับ ตัวอย่างเช่น “Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica”

     พูดง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา(font-weight)”, “ความกว้าง(font-stretch)” และ “ความเอียง(font-style)”

ที่มา : http://www.siamhtml.com


Alphabet  หมายถึง  สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย สำหรับใช้แทนหน่วยเสียง ในภาษาหนึ่งๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์ หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือ ตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือ สัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ)แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้องอักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร)ป็นต้น
      มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/


Typography หมายถึง ศาสตร์แห่งการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร(Typefaces)และการจัดวางชุดแบบตัวพิมพ์(Fonts)ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระับบการพิมพ์และการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิด

ที่มา : http://typefacesdesign.blogspot.com/2011/09/typography.html

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องของฟอนต์



ฟอนต์หมายถึง

หมายถึง ตัวอักษรที่ต่างกันทั้งแบบและขนาด มีไว้ให้เลือกมากมายเพื่อให้เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา การพาดหัวข่าว งานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ แบบอักษรแต่ละแบบจะมีชื่อ เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้


ประวัติtypography
ตัวอักษร เรียกว่า character และถ้าหากตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นชุดเดียวกัน เรียกว่า font
ที่เรารู้จักกันดี เช่น angsana UPC,arial, lily, cordia new, tahoma, เป็นต้น ประวัติความเป็นมาของสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โลหะ โดย Johannes Gutenberg ในปีค.ศ. 1440 ซึ่งทำให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจำนวนมาก การออกแบบตัวอักษรจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา



ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ระบบการพิมพ์ของไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้พัฒนามาเรื่อยๆด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันสมัยในทุกๆวันนี้เป็นเรื่องง่ายดายที่จะจัดทำพิมพ์สื่อต่างๆ

เริ่มต้นที่


- พ.ศ.2205 สมัยกรุงศรีอยุธยา หลุยส์ ลาโน ( Louis Laneau) บาทหลวงสังฆราช ของคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามาในประเทศไทยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้แปล แต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยรวม 26 เล่ม หนังสือไวยากรณ์ไทยและบาลี 1 เล่มและพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม นอกจากนี้ยังสร้างศาลาเรียนขึ้นในที่พระราชทานที่ตำบล เกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโรงเรียนนี้

- สมัยกรุงธนบุรี บาทหลวงคาทอลิก ชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนาและจัดตั้งโรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฏิจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปี ค.ศ.1796 (พ.ศ.2339)

- พ.ศ.2356 มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนางจัดสัน ( Nancy Judson) มิชชันนารีอเมริกัน ต่อมาแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ถูกนำไปเมืองกัลกัตตา

- พ.ศ.2384 หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับ การยกย่องว่า “บิดาแห่งการพิมพ์ในประเทศไทย” ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ไทยขึ้นใหม่ให้น่าอ่านกว่าเดิม

- วันที่ 3 มิถุนายน 2379 บาทหลวงชาร์ล โรบินสัน ( Reverand Robinson) มิชชันนารีอเมริกัน ได้พิมพ์หนังสือ ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยจากแท่นพิมพ์ที่ทำด้วยไม้และแม่พิมพ์หิน หนังสือมี 8 หน้า เนื้อหาเกี่ยวกับบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandment)

- พ.ศ.2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างโรงพิมพ์มิชชันนารีอเมริกัน พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่นนับเป็นเอกสารทางราชการชิ้นแรกที่จัดพิมพ์ขึ้น

- วันที่ 4 กรกฎาคม 2387 มีการออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) โดยขณะนั้นเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ

- วันที่ 15 มิถุนายน 2404 หมอบรัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย และจัดพิมพ์ขายขึ้นเป็นครั้งแรกนับเป็นการเริ่มต้นของการซื้อขายลิขสิทธิ์และการพิมพ์ หนังสือเล่มออกจำหน่าย

- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เริ่มต้นกิจการพิมพ์ของไทย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏและผนวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงดำริสั่งเครื่องพิมพ์มาตั้งที่ วัดบวรนิเวศวิหารและแกะตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะ ใช้พิมพ์หนังสือสอนศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ หนังสือสวดมนต์ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2394 หลังจากการขึ้นครองราชย์ทรงตั้งโรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวังขนานนามว่า โรงพิมพ์อักษรพิมพการ และได้พิมพ์ผลงานชิ้นแรกออกมาชื่อ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ.2401

- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเล่ม และช่างพิมพ์ไทยพยายามแก้ปัญหาแม่พิมพ์ โดยแกะแม่พิมพ์ไม้ขี้นใช้เอง

- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ มากมาย กิจการพิมพ์ในยุคนี้เจริญก้าวหน้า มีความประณีต งดงามมากยิ่งขึ้นและโรงพิมพ์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

- การศึกษาทางการพิมพ์เริ่มขึ้นประมาณ พ.ศ.2476 ในระดับอาชีวศึกษาชั้นต้นชั้นปลายที่โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช

- พ.ศ.2496 ได้มีการสอนวิชาการพิมพ์ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ในแผนกวิชาช่างพิมพ์ทำการสอน ระดับอนุปริญญา


ส่วนประกอบของตัวอักษร (font anatomy)
ปัจจุบันมีองค์กรที่เรียกว่า the international standard organization (ISO) ตั้งที่ Geneva ,Switzerland มีหน้าที่ กำหนดมาตรฐานของตัวอักษรที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ทั้งขนาด ลักษณะของตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย ความสูงรายละเอียดต่างๆ  ตัวอักษรภายใต้ ISO เน้นประโยชน์ใช้สอยสามารถอ่านง่ายและใช้งานได้หลากหลาย  ตัวอักษรยังมีส่วนประกอบต่างมีชื่อเรียกเฉพาะให้เป็นที่เข้าใจกัน ในกลุ่มนักออกแบบที่เรียกกันว่า "anatomy"

* หากคุณต้องการที่จะออกแบบตัวอักษร คุณต้องทำความเข้าใจส่วนประกอบต่างๆของตัวอักษรให้เข้าใจเสียก่อน


การออกแบบ font
ต้องคำนึงถึงระยะต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งาน ซึ่งจะมีผลต่อการอ่าน และลักษณะเฉพาะของตัวอักษรนั้น ระยะที่ใช้ในการออกแบบ font มีหน่วยการวัดเป็น dpi (dot per inch) หมายถึงให้แบ่งย่อยระยะ 1 นิ้วออกเป็นช่องเล็กๆ ซึ่งถูกกำหนดว่า 72 dpi = 1 นิ้ว ซึ่งพัฒนาเป็นขนาดในการแสดงผลบน computer display และ web page ในเวลาต่อมา 
ลักษณะการแบ่งระยะออกเป็นช่องย่อยๆจำนวน 72 ช่องต่อระยะ 1 นิ้ว 

***นอกจากนี้ตัวอักษรยังมีระยะมาตรฐานต่างๆที่ต้องคำนึงและทำความเข้าใจก่อนการออกแบบ มี4 ระยะ ได้แก่ x- height, capline,topline, base line และ beardline